![]() |
|
|
![]() |
กฎหมายการทำธุรกิจโฮสเทล ที่ผู้ประกอบการควรรู้ | |
การทำธุรกิจโฮสเทล ผู้ประกอบการต้องทำความเข้าใจในเรื่องของข้อกำหนดทางกฎหมายเป็นอย่างแรก แม้ว่าโฮสเทลจัดเป็นที่พักขนาดเล็ก แต่ถ้าโฮสเทลมีห้องพักเกิน 4 ห้อง มีจำนวนผู้เข้าพักรวมกันเกิน 20 คน และมีการคิดค่าเช่าเป็นรายวัน จะถูกจัดให้อยู่ในประเภทธุรกิจโรงแรม จึงจำเป็นต้องมี การขออนุญาตทำธุรกิจโฮลเทลตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งผู้ประกอบการที่จะทำธุรกิจโฮลเทลจำเป็นต้องรู้ในกฎหมายพื้นฐานธุรกิจโฮสเทล ( http://bit.ly/2YfqHUf ) กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการทำธุรกิจโฮสเทล
พรบ. ควบคุมอาคาร
โรงแรมถือเป็นอาคารสาธารณะที่อยู่ภายใต้การควบคุมของพรบ.ควบคุมอาคาร ซึ่งมีข้อกำหนดในเรื่องการออกแบบที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน ประเด็นหลักคือ ระบบความปลอดภัยต่างๆ ซึ่งต้องใช้สถาปนิกและวิศวกรงานระบบที่มีความชำนาญในการออกแบบโรงแรม มาเป็นผู้ออกแบบให้ถูกต้องตามกฎหมาย และหากคุณมีโฮสเทลตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป ต้องผ่านขั้นตอนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment หรือ EIA) เพื่อตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้น อันเนื่องมาจากการก่อสร้างโฮสเทล ขั้นตอนการยื่นเรื่องการก่อสร้างโฮสเทล เพื่อให้ถูกต้องตาม พรบ. ควบคุมอาคาร มีดังนี้
· การยื่นเรื่องขอปลูกสร้างอาคารตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป ผู้ประกอบการต้องยื่นเรื่องต่ออำเภอหรือเทศบาลในเขตพื้นที่ที่ทำกี่ก่อสร้างโฮสเทล การไปขอยื่นเรื่องโฮสเทลของท่านต้องผ่านกระบวนการการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เสียก่อน · การขออนุญาตเปิดการใช้อาคารนั่น ต้องให้การก่ออาคารโฮสเทลแล้วเสร็จ 70-80 เปอร์เซ็นต์ ผู้ประกอบการจึงจะสามารถ ยื่นเรื่องขอใบรับรองการก่อสร้างอาคาร จากเจ้าหน้าที่ที่อำเภอหรือเทศบาลได้ · หากโรงแรมใกล้แล้วเสร็จประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ ผู้ประกอบการต้องดำเนินการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมจากกระทรวงมหาดไทย หรือทางจังหวัด กฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโฮสเทล
· การขอใบอนุญาตขายแอลกอฮอล์และบุหรี่จากกรมสรรพสามิต · การขอใบอนุญาตจำหน่ายอาหารหรือสะสมอาหารจากเทศบาล · การขออนุญาตซ่อมแซม ในกรณีที่นำอาคารเก่ามาซ่อมแซมหรือดัดแปลงต้องขอจากเทศบาลเท่านั่น(ไม่สามารถขออนุญาตดัดแปลงอาคารได้ เพราะเทศบาลอนุญาตแค่การซ่อมแซม) กฎหมายเกี่ยวกับการจดทะเบียนและเสียภาษีโฮสเทล
เมื่อการก่อสร้างหรือปรับปรุงอาคารและการขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรม เพื่อใช้ประกอบธุรกิจโฮสเทลแล้วเสร็จ เพื่อให้โฮสเทลของเราเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ประกอบการโฮสเทลต้องรู้ รูปแบบธุรกิจและการวางแผนภาษีเพื่อให้สอดคล้องกับหลักกฎหมายโรงแรม เพื่อให้ผลประกอบการดำเนินอย่างถูกต้อง ซึ่งรูปแบบธุรกิจมีทั้งเจ้าของธุรกิจเพียงคนเดียวและนิติบุคคล การที่โฮสเทลเข้าสู้ระบบอย่างถูกต้องเป็นการจัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบการได้ครบถ้วนมากขึ้น ช่วยยกระดับมาตรฐานการบริการเกี่ยวกับโรงแรมทั่วประเทศให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ ภาษีที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มธุรกิจโรงแรม มีดังนี้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือภาษีอากรที่ถือเป็นภาษีทางอ้อม เก็บจากผู้ซื้อสินค้าและบริการประเภทต่าง ๆ โดยผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ผู้ประกอบการ ผู้นำเข้า ผู้ผลิต ผู้ให้บริการ ทุกธุรกิจที่ไม่ได้รับการยกเว้น ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปแบบของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม หากกิจการมีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีข้อดีก็คือ สามารถนำภาษีซื้อจากค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการมาหักออกจากภาษีขายที่เรียกเก็บจากผู้มาพักที่โฮสเทลได้ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ กับที่ดินที่ใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่องไปกับโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างนั้น ซึ่งเกณฑ์ในการคำนวณภาษีโรงเรือน สำหรับกิจการประเภทกลุ่มโรงแรม รวมถึงโฮสเทล คือ ค่าเช่าห้อง/วัน x จำนวนห้องทั้งหมด x 365 วัน x 8 % = ค่ารายปี ค่ารายปี x 12.5% = ภาษีโรงเรือนที่ต้องชำระ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลหรือนิติบุคคลที่มีหน้าที่ต้องจ่ายภาษีตามกฎหมายอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับว่าผู้ประกอบธุรกิจโฮสเทลเลือกประกอบธุรกิจในประเภทใด กฎหมายด้านความปลอดภัยของผู้เข้าพักโฮสเทล
| |
ผู้ตั้งกระทู้ กัญญาวีร์ :: วันที่ลงประกาศ 2019-07-04 16:12:19 IP : 124.120.215.184 |
Copyright © 2011 All Rights Reserved. |
Visitors : 91132 |